รายงานผลการประชุมคณะทำงานบริหารและพัฒนาเทคนิคเว็บไซต์(กลุ่ม1)
ศึกษามาตรฐานเดิมและมาตรฐานของ W3C
และออกแบบมาตรฐานเว็บ
วันที่ศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
ห้องประชุม ประจิม 4(4A)
เวลา 10.30-12.00 น.
มีผู้เข้าร่วมประชุมดังนี้ |
ลำดับ |
ชื่อ-นามสกุล |
ฝ่าย |
1. |
นายราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ
|
ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณ(RDC) |
2. |
นายบุญเลิศ
อรุณพิบูลย์ |
โครงการพัฒนาบุคลากรไอซีที
(HRC) |
3. |
นายปัญจพร
ทิพย์พิริยพงศ์ |
โครงการพัฒนาบุคลากรไอซีที
(HRC) |
4. |
นายบุญเกียรติ
เจตจำนงนุช |
โครงการพัฒนาบุคลากรไอซีที
(HRC)
|
5. |
นายไมตรี
คงเรือง
|
โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ(ASTEC) |
6. |
นายน้ำหนึ่ง
มิตรสมาน |
โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ(ASTEC) |
7. |
นายเอกฉันท์
รัตนเลิศนุสรณ์
|
โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศภาครัฐ(GITI) |
8. |
นายหัสฎา
ผิวขาว |
่งานบริการระบบสารสนเทศ(ISS) |
9. |
นายกฤดากร
หิรัญพฤกษ์ |
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความมั่นคง(INS)) |
10. |
นางวชิราพร
ปัญญาพินิจนุกูร |
ฝ่ายพัฒนานโยบายและกฏหมาย(PLD) |
11. |
นางสาววัชชิรา บูรณสิงห์
|
ฝ่ายบริหารสำนักงาน(OMD) |
12. |
นางสาวกนกพร
เสลานอก |
ฝ่ายบริหารสำนักงาน(OMD) |
|
ศึกษามาตรฐานเดิมและมาตรฐานของ
W3C และออกแบบมาตรฐานเว็บ |
คุณราชบดินทร์
ได้รายงานถึงร่างมาตรฐานการพัฒนาเว็บไซต์ ตั้งแต่ปี 2539,2541,2542จนถึง2545(version
1.0b,1พฤษภาคม 2545) ซึ่งทางคณะทำงานฯ ได้นำมาพิจารณาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบมาตรฐานเว็บไซต์
ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 มาตรฐาน ดังนี้
1.มาตรฐานทางด้านเนื้อหา
2.มาตรฐานทางด้านรูปแบบของการนำเสนอและการแสดงผลภาษาไทย
3.มาตรฐานทางด้านเทคนิค
คุณวชิราพร นำรายงานผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงในมุมมองของคนพิการทางการเห็นและผู้พัฒนาเว็บไซต์อินเทอร์เน็ต
และได้อธิบายบทสรุปจากเสียงสะท้อนของผู้ใช้บริการ และคณะทำงานได้นำมาประกอบการพิจารณา
ในการออกแบบมาตรฐานเว็บไซต์ (สามารถดูรายละเอียดได้ตามเอกสารแนบ) |
จากมาตรฐาน
(version 1.0b,1พฤษภาคม 2545) คณะทำงานมีความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐาน ดังนี้ |
1.มาตรฐานทางด้านเนื้อหา
ข้อกำหนด
หน่วยงานต่างๆ ภายในศูนย์ฯ จะต้องนำเสนอเนื้อหาขั้นต่ำดังต่อไปนี้
1.เกี่ยวกับหน่วยงาน (About us) เป็นส่วนที่นำเสนอข้อมูลแนะนำหน่วยงานนั้นๆ
2.โครงสร้างหน่วยงาน (Organization Structure, Staff Directory) เป็นส่วนที่แนะนำโครงสร้างของหน่วยงานนั้นๆ
ว่าแบ่งออกเป็นกี่ระดับ มีใครบ้าง โดยนำเสนอทั้งชื่อ อีเมลล์ และเบอร์โทรติดต่อ
3.โครงการสำคัญ เป็นส่วนที่นำเสนอโครงการต่างๆ ของหน่วยงานนั้น ทั้งโครงการที่ได้ดำเนินการอยู่
และโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว
4.Site Map เป็นส่วนที่นำเสนอโครงสร้างของเว็บไซต์ของหน่วยงานนั้น
5.Contact us เป็นส่วนที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการติดต่อกับหน่วยงานนั้น
โดยมีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน อีเมลล์
คำแนะนำ
หน่วยงานต่างๆ ภายในศูนย์ฯ ควรจะนำเสนอข้อมูลดังต่อไปนี้
1.กิจกรรม สัมมนา เป็นส่วนที่นำเสนอปฏิทินกิจกรรมโดยสามารถสืบค้นกิจกรรมที่เคยดำเนินการผ่านมาแล้ว
กิจกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ และกิจกรรมที่กำลังจะดำเนินการ
ที่ประชุมมีมติให้ทำการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- คณะทำงานฯ มีความเห็นว่า จะยังคงมาตรฐานเดิมอยู่
- เพิ่มคำอธิบายว่าคำว่า หน่วยงาน คืออะไร ครอบคลุมอะไรบ้าง |
2.มาตรฐานทางด้านรูปแบบของการนำเสนอและการแสดงผลภาษาไทย
|
ข้อกำหนด
หน่วยงานต่างๆ จะต้องนำเสนอข้อมูลโดยมีรูปแบบของการนำเสนอข้อมูล และการแสดงผลภาษาไทยดังต่อไปนี้ |
- ในการนำเสนอข้อมูลในแต่ละหน้า
จะต้องมีการจัดทำ Header และ Footer ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้
Header จะต้องประกอบด้วย โลโก้ขององค์กรที่จะลิงค์กลับไปที่หน้าแรกขององค์กร,
ชื่อหรือโลโก้ของหน่วยงานที่จะลิงค์ไปที่หน้าแรกของหน่วยงาน, แบนเนอร์สำหรับการประชาสัมพันธ์,
เมนูหลักของเว็บไซต์
Footer จะต้องประกอบไปด้วยข้อความสงวนลิขสิทธิ์ (Copyright) ในการนำข้อมูลในเว็บไซต์ไปใช้
- สำหรับเอกสารภาษาไทย
การใช้เครื่องหมายวรรคตอนจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้
นขลิขิต หรือวงเล็บ (
) วงเล็บเหลี่ยม [
] และวงเล็บปีกกา {
} ควรเคาะแป้นเคาะวรรค
เพื่อเว้นวรรค 1 ครั้งก่อนเปิดวงเล็บ และอีก 1 ครั้งหลังปิดวงเล็บ ส่วนข้อความภายในวงเล็บจะต้องติดกับเครื่องหมายวงเล็บเปิดและปิด
ตัวอย่างเช่น xxx (yyy) xxx, xxx [yyy] xxx, xxx {yyy} xxx
อัญประกาศหรือเครื่องหมายคำพูด
และอัญประกาศเดี่ยว
ควรเคาะแป้นเคาะวรรค
เพื่อเว้นวรรค 1ครั้ง ก่อนเปิดเครื่องหมายคำพูด และอีก 1 ครั้งหลังปิดเครื่องหมายคำพูด
ส่วนข้อความภายในเครื่องหมายคำพูดจะต้องติดกับเครื่องหมายคำพูดเปิดและปิด
ตัวอย่างเช่น xxx yyy xxx
ไม้ยมก ๆ ต้องอยู่ติดกับข้อความหน้าเครื่องหมายไม้ยมก ส่วนข้อความที่อยู่หลังเครื่องหมายไม้ยมกอาจเคาะแป้นเคาะวรรค
เพื่อเว้นวรรค 1 ครั้ง หรือไม่เว้นวรรคเลยแล้วแต่กรณี ตัวอย่างเช่น xxxๆ
yyy หรือ xxxๆyyy
ไปยาลน้อย ฯ จุลภาคหรือจุดลูกน้ำ , ทวิภาคหรือจุดคู่ : อัฒภาคหรือจุดครึ่ง
; อัศเจรีย์หรือเครื่องหมายตกใจ ! ปรัศนีหรือเครื่องหมายคำถาม ? และวิภัชภาคหรืออภัชภาค
:- ต้องอยู่ติดกับข้อความที่อยู่ก่อนหน้าเครื่องหมายเหล่านี้ ส่วนข้อความที่อยู่ตามหลังเครื่องหมายเหล่านี้
จะต้องเคาะแป้นเคาะวรรค 1 ครั้งหรือ 2 ครั้ง ตัวอย่างเช่น xxxฯ yyy หรือ
xxx, yyy หรือ xxx: yyy หรือ xxx; yyy หรือ xxx! yyy หรือ xxx? yyy หรือ
xxx:- yyy ยกเว้นการใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นตัวเลขทุกสามหลัก ในจำนวนที่ประกอบด้วยตัวเลขตั้งแต่สี่หลักขึ้นไป
ตัวอย่างเช่น 1,000 1,000,000
ไปยาลใหญ่ ฯลฯ ควรเคาะแป้นเคาะวรรค 1 ครั้ง หน้าเครื่องหมายไปยาลใหญ่ ส่วนใหญ่เครื่องหมายนี้จะแสดงท้ายประโยค
ดังนั้นก่อนขึ้นประโยคใหม่ จึงต้องเคาะแป้นเคาะวรรค 2 ครั้งหลังเครื่องหมายไปยาลใหญ่
ตัวอย่างเช่น xxx ฯลฯ yyy
มหัพภาค . ควรอยู่ติดข้อความที่อยู่หน้าเครื่องหมายมหัพภาค และเคาะแป้นเคาะวรรค
2 ครั้งหลังเครื่องหมายมหัพภาค ตัวอย่างเช่น xxx. yyy ยกเว้นการใช้เครื่องหมายมหัพภาคเป็นจุดทศนิยมหรือประกอบชื่อของเว็บไซต์
หรือส่วนหนึ่งของที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ห้ามมีวรรคก่อนหรือหลังเครื่องหมายมหัพภาค
ตัวอย่างเช่น www.nectec.or.th, webmaster@nectec.or.th ถ้าข้อความนั้นมีการใส่เครื่องหมายอัญประกาศหรือเครื่องหมายวงเล็บ
ให้ใส่เครื่องหมายมหัพภาคไว้ติดกับเครื่องหมายอัญประกาศหรือเครื่องหมายวงเล็บ
ตัวอย่างเช่น xxx (yyy). หรือ xxx yyy.
ไข่ปลาหรือจุดไข่ปลา
ประกอบด้วยจุด 3 จุดเรียงติดกัน ไม่เว้นวรรคทั้งหน้าและหลังเครื่องหมาย
และอาจอยู่ท้ายประโยคได้ ตัวอย่างเช่น xxx
yyy หรือ xxx
ในกรณีพิเศษที่เป็นชื่อร่างกฎหมายต่างๆ
ซึ่งมักจะระบุช่องว่างหลังปีพุทธศักราช ให้เคาะแป้นเคาะวรรคหลังจุดของปีพุทธศักราช
1 ครั้ง ก่อนใส่เครื่องหมายไข่ปลา ตัวอย่างเช่น พ.ศ.
เสมอภาค = ควรเคาะแป้นเคาะวรรค 1 ครั้งหรือมากกว่า 1 ครั้ง ก่อนและหลังเครื่องหมายเสมอภาค
ขึ้นอยู่กับความสวยงาม ตัวอย่างเช่น 1+1 = 2
ทับ / ไม่เว้นวรรคทั้งหน้าและหลังเครื่องหมาย ตัวอย่างเช่น วว 5204/ว.1022
- การใช้อักขระพิเศษอื่นๆ
สำหรับเอกสารภาษาไทย จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้
เปอร์เซ็นต์ % และดอกจันทร์ * ให้อยู่ติดกับข้อความหน้าเครื่องหมายทั้งสองนี้
ส่วนหลังเครื่องหมายให้เคาะแป้นเคาะวรรค 1 ครั้ง แล้วตามด้วยข้อความ แต่ถ้าเป็นตำแหน่งจบประโยค
ให้เคาะแป้นเคาะวรรค 2 ครั้ง ตัวอย่างเช่น xxx% yyy หรือ xxx* yyy
เครื่องหมาย @ # และ $ ให้เคาะแป้นเคาะวรรค 1 ครั้งก่อนเครื่องหมาย ส่วนหลังเครื่องหมายไม่ต้องเคาะแป้นเคาะวรรค
ตัวอย่างเช่น xxx @yyy หรือ xxx #yyy หรือ xxx $yyy ยกเว้นกรณีที่เป็นที่อยู่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะไม่มีการเว้นวรรค
ตัวอย่างเช่น webmaster@nectec.or.th
เครื่องหมาย เมื่อใช้แทนคำว่าถึงไม่ต้องเว้นวรรคทั้งหน้าและหลังเครื่องหมาย
ตัวอย่างเช่น 22-25 มิถุนายน พ.ศ.2543 แต่ถ้าใช้แทนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
และต้องการแสดงความชัดเจน ควรเคาะวรรค 1 ครั้งขึ้นไป ที่หน้าและหลังเครื่องหมาย
ตัวอย่างเช่น 100 1,000
- การใช้อักขระไทยร่วมกับตัวเลข
หรืออักขระในภาษาอื่น ให้เคาะแป้นเคาะวรรค 1 ครั้ง ก่อนและหลังตัวเลขหรืออักขระในภาษาอื่น
ตัวอย่างเช่น กกก xxx กกก หรือ กกก 555 กกก
- ในเอกสารภาษาอังกฤษ
ในการแสดงตัวเลขที่มีค่าน้อยกว่า 20 ควรจะใช้คำในภาษาอังกฤษแทนตัวเลขนั้น
เช่น I bought 5 pens for 20 baht. ควรเขียนเป็น I bought five pens for
120 baht.
- ในเอกสารภาษาไทยจะต้องใช้ตัวเลขเป็นเลขไทย
|
คำแนะนำ
หน่วยงานต่างๆ ควรจะมีรูปแบบของการนำเสนอ และการแสดงผลภาษาไทยดังต่อไปนี้
1.การนำเสนอข้อมูลของเว็บไซต์ควรจะมีทั้งรูปแบบปกติ คือมีทั้งตัวอักษร รูปภาพ
เสียง วิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว และรูปแบบที่มีเฉพาะตัวอักษรเท่านั้น (Text
Only version) เพื่อความสะดวกสำหรับการเข้าถึงข้อมูลของผู้พิการ และควรจัดทำลิงค์สำหรับการเปลี่ยนระหว่างรูปแบบปกติ
และรูปแบบข้อมูลเฉพาะตัวอักษรเอาไว้มุมบนด้านซ้ายของทุกๆ หน้า
2.ข้อมูลทุกส่วนของเว็บไซต์ ควรจะมีการนำเสนอทั้งหน้าเอกสารภาษาไทย และหน้าเอกสารภาษาอังกฤษ
และควรจัดทำลิงค์สำหรับการเปลี่ยนระหว่างหน้าภาษาไทย และหน้าภาษาอังกฤษ และควรจัดวางตำแหน่งของลิงค์ไว้ในตำแหน่งที่สามารถเห็นได้ชัดเจน
ที่ประชุมมีมติให้ทำการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- คณะทำงานมีมติให้เปลี่ยนชื่อ จาก"มาตรฐานทางด้านรูปแบบของการนำเสนอและการแสดงผลภาษาไทย"
เป็น "มาตรฐานทางด้านรูปแบบการใช้ภาษาบนเว็บ"
- คณะทำงานมีมติให้ย้ายข้อ1.ไปอยู่มาตรฐานด้านเนื้อหา
ข้อ5.ต้องถาม ดร.ทวีศักดิ์ ถึงเหตุผลที่ให้ใช้ตัวอักษรแทนตัวเลขที่มีค่าน้อยกว่า20
ย้ายข้อ6.ไปอยู่คำแนะนำ และเปลี่ยนจากคำว่า "จะต้องใช้" เป็น "ควรจะใช้"
- ตัดคำแนะนำข้อ1. |
3.มาตรฐานทางด้านเทคนิค |
-ข้อกำหนด
|
- จะต้องมีการกำหนดชื่อของเอกสารหน้านั้น
ไว้ในส่วนของแท็ก <TITLE>...</TITLE> โดยชื่อที่กำหนดขึ้นมานี้
ควรใช้ภาษาอังกฤษ และอธิบายถึงภาพรวมของเว็บไซต์นั้นๆ ให้ได้มากที่สุด
ทั้งนี้เพราะชื่อของเอกสารที่เรากำหนดไว้นี้จะทำให้โปรแกรมเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูล
(Search Engine) สามารถตรวจพบ และเก็บชื่อที่เรากำหนดให้กับเอกสาร เข้าไว้ในระบบฐานข้อมูล
เพื่อใช้เป็นคีย์เวิร์ด สำหรับการ ค้นหาเว็บไซต์ต่อไป
- นอกจากการกำหนดชื่อของเอกสารแล้ว
เรายังควรกำหนดคีย์เวิร์ดให้กับเอกสารนั้น ๆ โดยการใช้แท็ก <META name="keywords"
content="คีย์เวอร์ดสำหรับโฮมเพจ"> ตัวอย่างเช่น <META
name=keywords content=NECTEC, ECTI, Electronics, Computer, Telecommunication,
Information> ซึ่งคีย์เวิร์ดนี้จะเป็นข้อมูลอีกส่วนหนึ่ง ที่โปรแกรมเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล
(Search Engine) บางชนิด เก็บไปทำเป็นคีย์เวิร์ด สำหรับการค้นหาเว็บไซต์
ดังนั้น ถ้าเราต้องการให้เอกสารของเราถูกตรวจพบโดยเว็บไซต์ ที่เป็น Search
Engine หลายๆ ชนิด เราควรจะใส่ทั้งชื่อของเอกสาร และใส่คีย์เวิร์ดในแท็ก
<META name="keywords"
>
- เอกสาร
HTML ทุกหน้าจะต้องมีการกำหนดชุดของตัวอักษร (Character Set) โดยจะต้องกำหนดเป็นชุด
TIS-620 ซึ่งการกำหนดชุดของตัวอักษรในเอกสารแต่ละหน้านั้นจะใช้รูปแบบเป็น
<META http-equiv="Content-Type" content="text/html;charset=TIS-620">
- ในเอกสารที่จะนำขึ้นเผยแพร่
บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น จะต้องกำหนดชนิดของฟอนต์ที่ใช้ โดยการใช้แท็ก
<font face="ชื่อของฟอนต์"> โดยเฉพาะเวปไซต์ที่มีการใช้ข้อมูลที่เป็นภาษาไทย
จะต้องกำหนดชื่อฟอนต์ที่มีอยู่ในเครื่อง Macintosh และ PC พร้อมทั้งระบุขนาดที่เหมาะสมด้วย
โดยในหน้าภาษาไทยควรจะกำหนดเป็น <font face="Angsana UPC, Thonburi"
size=4> ส่วนหน้าภาษาอังกฤษควรจะกำหนดเป็น <font face=Arial, Helvetica
size=2> ซึ่งในการใช้แท็ก <font face="..."> นั้น ให้เราระบุไว้ที่ตอนต้นของเอกสารครั้งเดียว
ไม่ต้องเขียนหลายรอบ เพราะจะเป็นการเพิ่มขนาดของไฟล์เอกสาร HTML โดยไม่จำเป็น
ยกเว้นเมื่อมีการใช้แท็ก <TABLE> จะต้องมีการระบุ <font face="...">
ไว้ ในทุกๆ หลังแท็ก <TD> และในกรณีที่มีการเปลี่ยนขนาดของฟอนต์
ไม่ต้องกำหนด <font face="..."> ให้ใช้แท็ก <font size="...">
ได้ทันที
- สำหรับการใช้งาน
ข้อมูลประเภทรายการ หรือตารางในเอกสาร โดยการใช้แท็ก <OL>, <UL>,
<DL> และ <TABLE> ไม่ควรจะใช้ซ้อนกันหลายชั้นเกินไป เพราะอาจจะเป็นผลทำให้
เอกสารนั้นกว้างเกินหน้าจอ ทำให้เกิดสกอล์บาร์ทางด้านล่าง ของโปรแกรมเว็บบราวเซอร์
ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ ต้องทำการเลื่อนดูข้อมูล ที่ขาดหายไป และยังทำให้การพิมพ์เอกสารหน้านั้นออกมาทางเครื่องพิมพ์
ข้อความบางส่วนจะขาดหายไป (ส่วนที่เกินหน้าจอ)
- ในการเขียน
HTML นั้น ควรจะเขียนโค๊ด ให้เป็นระเบียบ และมีคอมเมนต์ อธิบายไว้เป็นระยะ
โดยความยาวของ HTML ในแต่ละบรรทัด ไม่ควรเกิน 80-90 ตัวอักษร เพื่อให้สามารถอ่านข้อมูล
และปรับปรุงแก้ไขได้ง่าย นอกจากนั้นการตัดคำภาษาไทยของเอกสารหน้านั้น ๆ
ยังสามารถทำได้ อย่างถูกต้องอีกด้วย
- ขนาดของเอกสารแต่ละหน้า
ควรจะมีขนาดที่ ไม่ใหญ่เกินไป โดยควรจะควบคุมให้มีขนาดไม่เกิน 150 กิโลไบต์
(จะใช้เวลาประมาณ 3 วินาทีเมื่อใช้โมเด็มความเร็ว 56 Kbps) แต่ถ้าหากเอกสารหน้าใด
มีขนาดข้อมูลรวมมากกว่า 150 กิโลไบต์ จะต้องเสียเวลาในการเคลื่อนย้ายข้อมูลมาก
ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชมเกิดความเบื่อได้ ส่วนกรณีที่เป็นเอกสาร หรือบทความที่ยาว
และมีภาพประกอบ ควรใช้ภาพประกอบขนาดเล็ก (thumbnail) และสามารถคลิ๊กที่ภาพเล็ก
เพื่อแสดงภาพที่ใหญ่ขึ้นได้ หากเอกสารหน้าใด ที่จำเป็นต้อง มีขนาดรวมทุกไฟล์เกิน
150 กิโลไบต์ ต้องแน่ใจว่าเอกสารที่สร้างขึ้นนั้น จะสามารถดึงความสนใจ
ของผู้เข้าชมได้ ในระหว่างที่มีการเคลื่อนย้ายข้อมูล และข้อมูลนั้นยังปรากฎบนหน้าจอไม่ครบถ้วน
- การนำภาพมาประกอบในเอกสาร
โดยการใช้แท็ก <img ...> นั้น จะต้องกำหนดความกว้าง และความสูงที่ถูกต้อง
ของภาพนั้นไว้ด้วยเสมอ เพราะจะทำให้ การจัดโครงร่างของเอกสาร ทำได้อย่างรวดเร็ว
และที่สำคัญ ควรจะกำหนดแอทริบิวท์ ALT ไว้ภายในแท็ก <img ...> เพื่อแสดงข้อความอธิบายสำหรับเว็บบราวเซอร์บางชนิด
ที่ไม่สามารถแสดงข้อมูลที่เป็นรูปภาพได้ และถ้ารอบๆ ตำแหน่งที่วางรูปภาพมีตัวอักษร
เราควรจะกำหนดระยะห่างจากขอบของรูปทุกด้าน โดยการใช้แอทริบิวท์ VSPACE="ระยะห่างเป็นพิกเซล"
HSPACE="ระยะห่างเป็นพิกเซล" และถ้ารูปนั้นเป็นตัวเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่น
เราควรกำหนดความกว้างของกรอบ โดยใช้แอทริบิวท์ border="ความกว้างเป็นพิกเซล"
เช่น<br><img alt="VIDEO" src=http://www.nectec.or.th/graphics/video-56.gif
width=56 height=20 border=0 hspace=3 vspace=3>
- ในการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลและชื่อไดเรกทอรี่
ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล จะต้องใช้ชื่อภาษาอังกฤษที่ไม่ยาวเกินไปและสื่อความหมาย
โดยนามสกุลของไฟล์เอกสาร HTML ควรจะเป็น .html และแฟ้มข้อมูลแรกที่ต้องการให้ผู้เข้าชมเห็นควรจะตั้งชื่อเป็น
index.html ในทุกๆ ไดเรกทอรี่จะต้องมีไฟล์ชื่อนี้อยู่ด้วย เพื่อไม่ให้ผู้ใช้
เห็นแฟ้มข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่นั้น เช่น ในไดเรกทอรี่ที่เก็บภาพควรจะสร้างไฟล์เปล่าๆ
แล้วบันทึกไว้ในชื่อ index.html เพื่อไม่ให้ผู้เข้าชม มองเห็นรายชื่อของไฟล์ทั้งหมด
ที่อยู่ในไดเรกทอรี่นี้
- ในระหว่างการพัฒนาโฮมเพจ
ควรจะมีการทดสอบการแสดงผล โดยการใช้ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์หลายๆ ชนิด เช่น
โปรแกรม Netscape Navigator เวอร์ชั่น 4.x และ 6 บน PC
โปรแกรม Internet Explorer เวอร์ชั่น 5 และ 6 บน PC
โปรแกรม Netscape Navigator เวอร์ชั่น 4.x และ 6 บน Macintosh
โปรแกรม Internet Explorer เวอร์ชั่น 5 และ 6 บน Macintosh
ทุกบราวเซอร์ใหม่ๆ ที่สามารถทดสอบได้
- ควรทดสอบระยะเวลาที่ใช้ในการดูเว็บเพจ
โดยทดสอบด้วยการใช้โมเด็มความเร็ว 14.4 kbps เนื่องจากผู้เข้าชมเวปเพจที่เราพัฒนาขึ้น
อาจจะมาจากต่างสถานที่กัน ใช้โมเด็มความเร็วต่างกัน ผู้พัฒนาควรทดสอบการเข้าชมเว็บเพจ
จากโมเด็มที่มีความเร็วที่ครอบคลุมถึงผู้ใช้ส่วนใหญ่
- ในการทดสอบการแสดงผล
ควรทดสอบที่ความละเอียดของหน้าจออย่างต่ำ 800 x 600 จุด
|
ที่ประชุมมีมติให้ทำการเปลี่ยนแปลงดังนี้
-คำว่าเว็บไซต์ ให้สะกดเป็น "เว็บไซต์"
-ข้อ1.คำว่าควรใช้ภาษาอังกฤษ เปลี่ยนเป็นคำว่า "จะต้องใช้ภาษาอังกฤษ"
-ส่วนของ TITLE ต้องกำหนดหรือไม่ว่า MAXIMUM ไม่เกิน 54 ตัวอักษร โดยให้คุณราชบดินทร์
ปรึกษา
ดร.จุฬารัตน์ และ จากข้อ2. ควรมี key word เช่น Description,Robot หรือไม่
-ข้อ3.ให้ coding กำหนดเป็น TIS-620 ตั้งแต่เริ่มสร้าง
-ตัดข้อ 4.
-ข้อ5.ตารางให้มี caption บอก tag หัวตาราง ,Table ต้องไม่ซ้อนกันเกิน2ชั้น
-มาตรฐาน CSS ให้คุณราชบดินทร์ร่างมาตรฐาน CSS และคุยกันในการประชุมย่อยกลุ่ม1
ครั้งหน้าfont face ให้ใช้ Ms Sansarif,Microsoft,Thonburi ขนาด 12 px ทำใน
CSS เป็น % font=2 CSS หรือ html ไม่ fix ขนาด fontควรกำหนด font face หรือไม่
-ตัดข้อ7.
-ข้อ8. เปลี่ยนคำว่า "ควรจะกำหนด" เป็น "ต้องกำหนด"
-ข้อ9. ย้ายไปคำแนะนำ และเพิ่ม "ตัวอักษรต้องเป็นตัวเล็กห้ามเว้นวรรค"
-ข้อ10. ย้ายไปคำแนะนำ และเพิ่ม FIRE FOX
-ข้อ11.ย้ายไปคำแนะนำ และเปลี่ยนจาก "ใช้โมเด็มความเร็ว 14.4 kbps เป็น
56 kbps
|
เรื่องการเพิ่ม
รายชื่อคณะทำงาน
เพิ่ม
1.นางวชิราพร ปัญญาพินิจนุกูร ฝ่ายพัฒนานโยบายและกฏหมาย (PLD)
โดยฝ่ายเลขานุการ จะจัดทำบันทึกในการเพิ่มและเปลี่ยนแปลงต่อไป
|
วาระการประชุมย่อยกลุ่ม1ครั้งต่อไป
-มาตรฐานการใช้ css
-Security ในการทำเว็บ
-มาตรฐานเว็บที่คนพิการเข้าถึง
|