หน้าหลัก

ข้อแนะนำในการพัฒนาเอกสาร บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  1. จะต้องมีการ กำหนดชื่อของ เอกสารนั้น ไว้ในส่วนของแท็ก <TITLE>...</TITLE> โดยชื่อที่กำหนดขึ้นมานี้ ควรจะเป็น ภาษาอังกฤษ และอธิบายถึง ภาพรวมของเวปไซต์นั้น ๆ ให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้เพราะ ชื่อของเอกสาร ที่เรากำหนดไว้นี้ จะทำให้โปรแกรมเก็บข้อมูล ของเวปไซต์ ค้นหาข้อมูล (Search Engine) สามารถตรวจพบ และเก็บชื่อ ที่เรากำหนด ให้กับเอกสาร ไว้ในระบบฐานข้อมูล เพื่อใช้เป็นคีย์เวิร์ด สำหรับการ ค้นหาเวปไซต์ต่อไป
  2. นอกจาก การกำหนดชื่อ ของเอกสารแล้ว เรายังควรกำหนด คีย์เวิร์ดให้กับ เอกสารนั้น ๆ โดยการใช้แท็ก <META name="keywords" content="คีย์เวอร์ดสำหรับโฮมเพจ"> ซึ่งคีย์เวิร์ดนี้ จะเป็นข้อมูลอีกส่วนหนึ่ง ที่โปรแกรมเก็บข้อมูล ของเวปไซต์ค้นหาข้อมูล (Search Engine) บางชนิด เก็บไปทำเป็นคีย์เวิร์ด สำหรับการค้นหาเวปไซต์ ดังนั้น ถ้าเราต้องการ ให้เอกสารของเรา ถูกตรวจพบโดยเวปไซต์ ที่เป็น Search Engine หลายๆ ชนิด เราควรจะใส่ ทั้งชื่อของเอกสาร และใส่คีย์เวิร์ดในแท็ก <META name="keywords">
  3. สำหรับเอกสารบางหน้า ที่มีการใช้งานภาษาไทย ควรจะมีการใช้แท็ก <WBR> แทรกในระหว่างคำแต่ละคำ ที่อยู่ในประโยค ทั้งนี้เพราะ โปรแกรมเวปเบราว์เซอร์บางชนิด ไม่สามารถตัดคำภาษาไทยได้ถูกต้อง ดังนั้นเวลาขึ้นบรรทัดใหม่ ก็จะเกิดปัญหา ในการแสดงข้อมูลที่ผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย เช่น คำว่า ไทย เป็นคำเดียวกัน ไม่ควรแยกเป็น ไ และ ทย หรือ ไท และ ย เป็นต้น เราจึงควรใช้แท็ก <WBR> คั่นระหว่างคำ เพื่อช่วยในการตัดคำ เช่น ผม<WBR>เป็น<WBR>คน<WBR>ไทย
  4. ในเอกสารที่จะนำขึ้นเผยแพร่ บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น จะต้องกำหนดชนิดของฟอนต์ที่ใช้ โดยการใช้แท็ก <font face="ชื่อของฟอนต์"> โดยเฉพาะเวปไซต์ที่มีการใช้ ข้อมูลที่เป็นภาษาไทย จะต้องกำหนดชื่อฟอนต์ที่มีอยู่ในเครื่อง Macintosh และ PC พร้อมทั้งระบุขนาดที่เหมาะสมด้วย เช่น <font face="MS Sans Serif, Thonburi" size=4> ซึ่งในการใช้แท็ก <font face="..."> นั้น ให้เราระบุไว้ที่ตอนต้น ของเอกสารครั้งเดียว ไม่ต้องเขียนหลายรอบ เพราะจะเป็นการเพิ่มขนาด ของไฟล์เอกสาร HTML โดยไม่รู้ตัว ยกเว้นเมื่อมีการใช้แท็ก <TABLE> จะต้องมีการระบุ <font face="..."> ไว้ ในทุกๆ หลังแท็ก <TD> และในกรณีที่ มีการเปลี่ยนขนาดของฟอนต์ ไม่ต้องกำหนด <font face="..."> ให้ใช้แท็ก <font size="..."> ได้เลย
  5. สำหรับการใช้งาน ข้อมูลประเภทรายการ หรือตารางในเอกสาร โดยการใช้แท็ก <OL>, <UL>, <DL> และ <TABLE> ไม่ควรจะใช้ซ้อนกัน หลายชั้นเกินไป เพราะอาจจะเป็นผลทำให้ เอกสารนั้นกว้างเกินหน้าจอ ทำให้เกิดสกอล์บาร์ทางด้านล่าง ของโปรแกรมเวปเบราว์เซอร์ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ ต้องทำการเลื่อนดูข้อมูล ที่ขาดหายไป และยังทำให้ การพิมพ์เอกสารหน้านั้น ออกมาทางเครื่องพิมพ์ ข้อความบางส่วนจะขาดหายไป (ส่วนที่เกินหน้าจอ)
  6. ในการเขียน HTML นั้น ควรจะเขียนโค๊ด ให้เป็นระเบียบ และมีคอมเมนต์ อธิบายไว้เป็นระยะ โดยความยาวของ HTML ในแต่ละบรรทัด ไม่ควรเกิน 80-90 ตัวอักษร เพื่อให้สามารถอ่านข้อมูล และปรับปรุงแก้ไขได้ง่าย นอกจากนั้นการตัดคำภาษาไทย ของเอกสารหน้านั้น ๆ ยังสามารถทำได้ อย่างถูกต้องอีกด้วย
  7. ขนาดของเอกสารแต่ละหน้า ควรจะมีขนาดที่ ไม่ใหญ่เกินไป โดยควรจะควบคุม ให้มีขนาดไม่เกิน 150 กิโลไบต์ (จะใช้เวลาประมาณ 60 วินาที) แต่ถ้าหากเอกสารหน้าใด มีขนาดข้อมูลรวม ที่มากกว่า 150 กิโลไบต์ จะต้องเสียเวลา ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลมาก ซึ่งจะทำให้ ผู้เข้าชมเกิดความเบื่อได้ ส่วนกรณีที่ เป็นเอกสาร หรือบทความที่ยาว และมีภาพประกอบ ควรใช้ภาพประกอบขนาดเล็ก (thumbnail) และสามารถคลิ้กที่ภาพเล็ก เพื่อแสดงภาพที่ใหญ่ขึ้นได้ หากเอกสารหน้าใด ที่จำเป็นต้อง มีขนาดรวมทุกไฟล์เกิน 150 กิโลไบต์ ต้องแน่ใจว่า เอกสารที่สร้างขึ้นนั้น จะสามารถดึงความสนใจ ของผู้เข้าชมได้ ในระหว่างที่ มีการเคลื่อนย้ายข้อมูล และข้อมูลนั้น ยังปรากฎบนหน้าจอไม่ครบถ้วน
  8. ในการนำภาพ มาประกอบในเอกสาร โดยการใช้แท็ก <img ...> นั้น จะต้องกำหนดความกว้าง และความสูงที่ถูกต้อง ของภาพนั้นไว้ด้วยเสมอ เพราะจะทำให้ การจัดโครงร่างของเอกสาร ทำได้อย่างรวดเร็ว และที่สำคัญ ควรจะกำหนดแอทริบิวท์ ALT ไว้ภายในแท็ก <img ...> เพื่อแสดงข้อความ อธิบายสำหรับเวปเบราว์เซอร์บางชนิด ที่ไม่สามารถ แสดงข้อมูลที่เป็นรูปภาพได้ และถ้ารอบๆ ตำแหน่งที่วางรูปภาพมีตัวอักษร เราควรจะกำหนด ระยะห่างจากขอบของรูปทุกด้าน โดยการใช้แอทริบิวท์ VSPACE="ระยะห่างเป็นพิกเซล" HSPACE="ระยะห่างเป็นพิกเซล" และถ้ารูปนั้น เป็นตัวเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่น เราควรกำหนดความกว้างของกรอบ โดยใช้แอทริบิวท์ border="ความกว้างเป็นพิกเซล" เช่น
    <img alt="VIDEO" src="http://www.nectec.or.th/graphics/video-56.gif" width=56 height=20 border=0 hspace=3 vspace=3>
  9. การใช้เครื่องหมายนขลิขิต หรือวงเล็บ (), อัญประกาศ (""), ไม้ยมก (ๆ), ไปยาลน้อย (ฯ), จุลภาคหรือจุดลูกน้ำ (,), จุดคู่ (:), อัฒภาคหรือ จุดครึ่ง (;), และมหัพภาคหรือจุด (.)
    • นขลิขิตหรือวงเล็บ (เครื่องหมาย ())
      ควรเว้นวรรค 1 ครั้งก่อนเปิดวงเล็บ และเว้นวรรค 1 ครั้งหลังปิดวงเล็บ ข้อความภายในวงเล็บ ควรติดกับเครื่องหมายวงเล็บเปิด และเครื่องหมายวงเล็บปิด ตัวอย่างเช่น xxx (yyy) xxx
    • อัญประกาศหรือเครื่องหมายคำพูด (เครื่องหมาย " ") ควรเว้นวรรค 1 ครั้ง ก่อนเปิดเครื่องหมายคำพูด และเว้นวรรค 1 ครั้ง หลังปิดเครื่องหมายคำพูด ข้อความภายในเครื่องหมายคำพูด ควรติดกับเครื่องหมายคำพูดเปิด และเครื่องหมายคำพูดปิด ตัวอย่างเช่น xxx "yyy" xxx
    • ไม้ยมก (เครื่องหมาย ๆ) ควรอยู่ติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายไม้ยมก อาจเว้นวรรค 1 ครั้ง หรือไม่เว้นวรรคเลย แล้วแต่กรณี ตัวอย่างเช่น xxxๆ yyy หรือ xxxๆyyy
    • ไปยาลน้อย (เครื่องหมาย ฯ), จุดลูกน้ำ (เครื่องหมาย ,) จุดคู่ (เครื่องหมาย :) และจุดครึ่ง (เครื่องหมาย ;) ควรอยู่ติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายควรเว้นวรรค 1 ครั้ง ตัวอย่างเช่น xxxฯ yyy xxx, yyy xxx: yyy xxx; yyy
    • มหัพภาคหรือจุด (เครื่องหมาย .) ควรอยู่ติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายจุด ควรเว้นวรรค 2 ครั้ง ตัวอย่างเช่น xxx. yyy
    * หมายเหตุ xxx และ yyy แทนข้อความใดๆ
  10. ในการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูล และชื่อไดเรกทอรี่ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล จะต้องใช้ชื่อภาษาอังกฤษ ที่ไม่ยาวเกินไป และสื่อความหมาย โดยนามสกุลของไฟล์เอกสาร HTML ควรจะเป็น .html และแฟ้มข้อมูลแรก ที่ต้องการให้ผู้เข้าชมเห็น ควรจะตั้งชื่อเป็น index.html และทุกๆ ไดเรกทอรี่ จะต้องมีไฟล์ชื่อนี้อยู่ด้วย เพื่อไม่ให้ผู้ใช้ เห็นแฟ้มข้อมูลทั้งหมด ที่อยู่ในไดเรกทอรี่นั้น เช่น ในไดเรกทอรี่ที่เก็บภาพ ควรจะสร้างไฟล์เปล่าๆ แล้วบันทึกไว้ในชื่อ index.html เพื่อไม่ให้ผู้เข้าชม มองเห็นรายชื่อของไฟล์ทั้งหมด ที่อยู่ในไดเรกทอรี่นี้
  11. ในระหว่างการพัฒนาโฮมเพจ ควรจะมีการทดสอบการแสดงผล โดยการใช้ โปรแกรมเวปเบราว์เซอร์หลายๆ ชนิด เช่น
    • โปรแกรม Netscape Navigator เวอร์ชั่น 3.x และ 4.x บน PC
    • โปรแกรม Internet Explorer เวอร์ชั่น 3.x และ 4.x บน PC
    • โปรแกรม Netscape Navigator เวอร์ชั่น 3.x และ 4.x บน Macintosh
    • โปรแกรม Internet Explorer เวอร์ชั่น 3.x และ 4.x บน Macintosh และทุกๆ browser ใหม่ๆ ที่สามารถทดสอบได้
  12. ควรทดสอบระยะเวลา ที่ใช้ในการดูเวปเพจ โดยทดสอบ โดยการใช้โมเด็มความเร็ว 14.4 kbps เนื่องจากผู้เข้าชมเวปเพจ ที่เราพัฒนาขึ้น อาจจะมาจาก ต่างสถานที่กัน ใช้โมเด็มความเร็วต่างกัน ผู้พัฒนาเวปเพจ จึงควรทดสอบ การเข้าชมเวปเพจ จากโมเด็มที่มีความเร็ว ที่ครอบคลุมถึงผู้ใช้ส่วนใหญ่
  13. ในการทดสอบการแสดงผล ควรทดสอบที่ ความละเอียดของหน้าจออย่างต่ำ 800 x 600 จุด


สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๑ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗
ห้ามนำข้อมูลของเครือข่ายนี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร